สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์

ประวัติความเป็นมา
      สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ราษฎรที่อาศัยบนพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา ซึ่งเดิมมักบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เพื่อทำไร่เลื่อนลอยปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และฝิ่น ส่งผลให้กลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือชาวเขาเหล่านั้นให้มีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่งส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนฝิ่น ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านการเกษตรกรแผนใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น บุกรุกทำลายป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร ด้วยการให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรแบบถาวร อันเป็นที่มาของการจัดตั้ง “สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์” ในปี พ.ศ. 2522 ณ บริเวณบ้านขุนกลาง เพื่อเป็นสถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงอีกแห่งหนึ่งดำเนินงานวิจัยด้านไม้ตัดดอก ไม้ประดับ พืชผัก และไม้ผลขนาดเล็ก รวมทั้งถ่ายทอดผลงานวิจัย อันนำไปสู่การส่งเสริมอาชีพ เพื่อให้เป็นรายได้ของครอบครัวเกษตรกรชาวเขาในหมู่บ้านรอบ ๆ สถานี ตลอดจนการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการพัฒนาทางสังคม และการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร
      เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์เพื่อช่วยเหลือชาวเขาให้มีพื้นที่ ทำกินเป็นหลักแหล่ง ส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนฝิ่น ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านการเกษตรแผนใหม่ ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ให้สูงขึ้น ในขณะเดียวกันรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากภาคการเกษตรยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขาให้ดีขึ้น ตลอดจนป้องกันการบุกรุกป่าไม้ ต้นน้ำ ลำธาร โดยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการทำไร่เลื่อนลอย มาทำการเกษตรในพื้นที่ถาวร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2527 ได้จัดตั้งหน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง ซึ่งห่างจากจุดที่ตั้งของสถานีหลักประมาณ 3 กิโลเมตร เพื่อดำเนินงาน ด้านการวิจัยและการผลิตไม้ผลเมืองหนาว ไม้ผลกึ่งเขตร้อน และพืชไร่ต่าง ๆ
      ในพื้นที่ซึ่งเป็นหุบเขาสูงชัน ที่มีความลาดชันตั้งแต่ 10-60% สูงจากระดับน้ำทะเล 1,260-1,400 เมตร ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีแนวเขาทอดตัวไปในแนวสันปันน้ำ ที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองทิศทาง โดยทางทิศตะวันออกจะผันน้ำสู่แม่น้ำปิง และทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำแม่แจ่ม ราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา เผ่ากะเหรี่ยงและเผ่าม้งเป็นบางส่วน ที่บุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และฝิ่น จนกลายสภาพเป็นป่าสภาพเสื่อมโทรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงภัยคุกคาม ต่อความมั่นคงของประเทศ การทำไร่เลื่อนลอย การปลูกฝิ่น และการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ติดตามมาไม่เฉพาะในท้องถิ่นแห่งนั้น เท่านั้น แต่ยังขยายความเสียหาย ให้แก่บริเวณเกษตรกรรมตอนใต้ลงมาอีกด้วย เพราะการทำลายป่าและต้นน้ำลำธาร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมตามมา จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือชาวเขา ให้มีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง ส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนฝิ่น ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น ปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ของชาวเขาให้ดีขึ้น ตลอดจนป้องกันการบุกรุกทำลายป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร โดยให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรแบบถาวร
      ปี 2522 มูลนิธิโครงการหลวงจึงได้จัดตั้ง " สถานีโครงการหลวงอินทนนท์ " ขึ้น บนพื้นที่ 150 ไร่ ในเขตหมู่บ้านขุนกลาง ตำบลบ้านหลวง ซึ่งเป็นสถานีวิจัยอีกแห่งหนึ่งของมูลนิธิโครงการหลวง ที่ดำเนินงานด้านการวิจัยค้นคว้าหาข้อมูล เป็นแนวทางที่จะนำเอาผลจากการวิจัยนั้น มาส่งเสริมอาชีพ เป็นรายได้ของครอบครัวเกษตรกร ชาวกะเหรี่ยงและม้งในหมู่บ้าน การพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน การพัฒนาทางสังคมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

     สถานีโครงการหลวงอินทนนท์ ให้การส่งเสริม และพัฒนาอาชีพการเกษตรแก่เกษตรกรชาวเขาเผ่า กะเหรี่ยง 14 หมู่บ้านและม้ง 2 หมู่บ้านที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงรวม 16 หมู่บ้าน 510 ครอบครัว ประชากร 2,793 คน ในปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่นในพื้นที่เพื่อการเกษตร 3,500 ไร่ โดยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ เช่น กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประธาน กรมป่าไม้ สำนักเกษตรภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฯลฯ


วัตถุประสงค์ของโครงการ
      1. เพื่อให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักแหล่งทั้งที่ทำกินและที่อยู่อาศัย
      2. นำพืชเศรษฐกิจส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่น
      3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆ ให้แก่ชาวเขา เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ เพิ่มรายได้ต่อครอบครัว และลดการใช้พื้นที่ในการทำเกษตร
      4. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้ความรู้แก่ชาวเขาในเรื่องการใช้ที่ดิน พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการทำการเกษตรก็ให้ฟื้นสภาพป่าคืนมา ส่วนพื้นที่ลาดชันพอที่จะทำการเกษตรได้ ก็ให้ปลูกไม้ยืนต้นและปลูกพืชแบบขั้นบันไดเพื่อลดการชะล้างหน้าดิน ส่วนพื้นที่ที่ไม่ลาดชัน ก็ให้ปลูกพืชผักหรือไม้ดอกหมุนเวียน


สถานที่ตั้ง
สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ อยู่ในเขตหมู่บ้านขุนกลาง หมู่ 7 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

 

 

 
จำนวนผู้เข้าชม
page counter
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
www.autoinfo.co.th
www.moac.go.th
money.kapook.com
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
“เว็บไซต์นี้ ดำเนินการภายใต้รายวิชา โครงการ  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  ปีการศึกษา 2561  ครูสุดฤดี  ประทุมชาติ”