โครงการแกล้งดิน

ประวัติความเป็นมา
      แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้
      หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุ*ที่มีการชักน้ำออก เพื่อจะนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตรนั้น แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุ*ที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิด ประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วยการแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรียวัตถุ หรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก    1 - 2 เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์      (Pyrite : FeS2) อยู่มาก

 

ที่ตั้งของโครงการ :  บ้านพิกุลทอง และบ้านโคกสยา ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส

 

วัตถุประสงค์โครงการ
      1. สนองพระราชดำริที่พระราชทานให้ไว้ในการดำเนินงานศึกษาและพัฒนาให้ครบถ้วนและถูกต้อง โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาในเชิงคุณภาพให้มากยิ่งขึ้น
      2.แก้ไขปัญหาความยากจนและผลกระทบที่เกิดจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประชาชนในกลุ่มเป้าหมาย ให้เพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการพึ่งตนเองพร้อมไปกับการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต
      3. ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานขยายผลด้วยมาตรการต่างๆ เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการขยายผลในรูปแบบการท่องเที่ยวในเชิงศึกษาและพัฒนาและการจัดการตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และประชาสังคม
      4. ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการดำเนินงาน โดยยึดหลักการโครงการพระราชดำริและการปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาทเป็นแนวทางดำเนินงาน โดยการใช้แผนเป็นเครื่องมือชี้นำไปในการดำเนินงาน


เป้าหมายของโครงการ
      1. ช่วยเเก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินที่มีสภาพเป็นกรดให้เเก่พื้นที่ต่างๆ
      2. ช่วยให้พื้นที่ต่างๆสามารถเพาะปลูก ทำการเกษตรได้
      3. ช่วยให้ประชาชนที่เกิดปัญหาดินเปรี้ยวสามารถสร้างรายได้ให้เเก่ตนเองได้

*พื้นที่พรุ คือ พื้นที่ชุ่มน้ำ เกิดจากการสะสมตัวของซากพืชและอินทรีย์วัตถุต่างๆ ทับถมกันเป็นเวลานาน กล่าวคือ ในสภาวะปกติที่มีปริมาณออกซิเจน มากพอ ซากพืชจะเน่าเปื่อย สลายตัวเกิดเป็นแร่ธาตุ คาร์บอนไดออกไซด์    และน้ำ แต่ภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิต่ำ ความเป็นกรดสูง ปริมาณธาตุอาหารต่ำ น้ำท่วมขัง และขาดออกซิเจน กระบวนการย่อยสลายซากพืชจะถูกยับยั้ง เป็นผลให้ซากพืชเหล่านั้นสะสมตัวอยู่ในรูปของพรุ สามารถพบพื้นที่ของพรุได้ในทั่วทุกทวีป รวมทั้งในเขตร้อนซึ่งมีการสะสมตัวของพรุเป็นขั้นหนาในบริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ และที่ลุ่มน้ำขัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณรอบขอบทะเลสาบและบริเวณชายฝั่งทะเล พื้นที่พรุในบริเวณต่างๆ ของโลกมีความแตกต่างกันไป ตามลักษณะทางอุทกวิทยา สภาพความเป็นกรดและสภาพภูมิอากาศ

 

 
จำนวนผู้เข้าชม
page counter
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
www.autoinfo.co.th
www.moac.go.th
money.kapook.com
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
“เว็บไซต์นี้ ดำเนินการภายใต้รายวิชา โครงการ  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  ปีการศึกษา 2561  ครูสุดฤดี  ประทุมชาติ”