ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

ประวัติความเป็นมา
      ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ได้เริ่มก่อตั้งตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมง และการเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจันทบุรี โดยได้ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง การส่งเสริมและ พัฒนาอาชีพราษฎรของศูนย์ฯ คุ้งกระเบน โดยได้ส่งเสริมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาสภาพธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเข้าใจระบบนิเวศในป่าชายเลนและรู้จักใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้ เกิดประโยชน์สูงสุด  พื้นที่โดยรอบของป่าชายเลน มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่ทางศูนย์ศึกษา      การพัฒนาฯ จัดทำขึ้นนั้น มีระยะทาง 1.6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินชมประมาณ 45 นาที – 1ชั่วโมง  เป็นสะพานไม้ระแนง ทอดยาวเข้าไปในดงป่าชายเลน  ซึ่งในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติมีพรรณไม้หลากหลายชนิด เช่น โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โปร่งแดง ป่าสักดอกแดง ป่าสักดอกขาว ลำพูทะเล แสมทะเล เป็นต้น ต้นไม้แต่ละชนิดจะมีป้ายบอกชื่อ ลักษณะ และสรรพคุณของไม้นั้นๆ ไว้ด้วย  รวมถึงเราจะได้เห็นสัตว์น้อยแห่งป่าชายเลน อย่างเช่น ปลาตีน ปูแสม วิ่งไปมา รวมถึง บรรยากาศในการเดินชมค่อนข้างร่มรื่นและเย็นสบายด้วยต้นไม้ที่ปกคลุมตลอด 2 ข้างทาง
อีกหนึ่งโครงการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพ และความห่วงใยที่พระองค์ทรงมีต่อราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ นั่นก็คือ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน"
      ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน สร้างขึ้นเพื่อทำการฟื้นฟูและจัดการทรัพยากรชายฝั่งหรือป่าชายเลนอย่างยั่งยืน ตั้งอยู่ที่อ่าวคุ้งกระเบน ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่รอบชายฝั่งประมาณ 2,000 ไร่ และถ้ารวมพื้นที่รอบนอกในเขตตำบลคลองขุด ตำบลสนามไชย และพื้นที่ใกล้เคียงที่เป็นเขตหมู่บ้านประมงตลอดแนวชายฝั่งทะเล อีกทั้งเขตเกษตรกรรมแล้ว ก็จะมีพื้นที่ราว 32,000 ไร่
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วป่าชายเลนมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์อย่างมาก เพราะเป็นพื้นที่ป่าที่มีพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำไปทำฟืนที่มีคุณภาพดี หรือใช้ทำหมึก สีกาว และสารฟอกหนังได้เช่นกัน

      ส่วนในมุมมองด้านการประมงนั้น จะสามารถมองเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่าป่าชายเลนคือแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์กุ้งและปลาสายพันธุ์ต่าง ๆ เพราะบริเวณป่าชายเลนจะมีคลื่นไม่แรงมาก ทำให้สัตว์น้ำตัวเล็ก ๆ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ และเศษกิ่งไม้และใบไม้ต่าง ๆ ในผืนป่าแห่งนี้ ก็เป็นแหล่งอาหารชั้นดีให้กับสัตว์น้ำตัวเล็ก ๆ เหล่านี้ด้วย
      นอกจากนี้ ป่าชายเลนก็ยังช่วยลดความแรงของคลื่นที่เข้ามากระทบชายฝั่งได้เป็นอย่างดี เพราะแรงกระแทกของคลื่นจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับที่อยู่อาศัยริมน้ำได้ อีกทั้งป่าชายเลนยังช่วยกรองของเสียก่อนลงสู่ทะเลได้บางส่วน ทำให้ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมไหลลงสู่ทะเลน้อยลง
แต่ด้วยภาวะปัจจุบันที่พื้นที่ป่าชายเลนลดน้อยลงมาก เพราะมีการบริโภคและมีความต้องการมากจนเกินไป สาเหตุที่สำคัญคือการตัดไม้ทำลายป่า เพราะพืชพันธุ์บริเวณป่าชายเลนนั้นสามารถนำไปใช้ทำฟืนได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อทำฟาร์มกุ้งต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องหนึ่งที่น่ากังวล คือ การอนุรักษ์ป่าชายเลนนั้นยังทำไม่ได้อย่างต่อเนื่อง จึงยากที่จะกลับมาอุดมสมบูรณ์ได้เหมือนเดิม
ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของป่าชายเลน จึงมีพระราชดำริในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งเป็นศูนย์การอบรมและเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย เพื่อช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนบริเวณนั้นให้ดีขึ้น และช่วยพัฒนาอาชีพประมงขั้นพื้นฐาน ตลอดจนพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลให้มีผลผลิตที่มากขึ้นด้วย
ปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ให้ความรู้กับผู้คนที่มาเยี่ยมชม เพื่อสร้างความเข้าใจและมองเห็นความสำคัญของป่าชายเลนให้มากขึ้น ทั้งยังเป็นที่ท่องเที่ยวอีกที่หนึ่งที่น่าสนใจมาก เพราะการที่เราได้เห็นสัตว์และพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่เราไม่มีโอกาสเห็นในชีวิตประจำวันนั้น ถือเป็นการเปิดโลกของการเรียนรู้ใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี


วัตถุประสงค์ของโครงการ
      1. เพื่อศึกษาและวิจัยด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องเหมาะสม
      2. เพื่อศึกษาและวิจัยด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
      3. เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพทั้งด้านประมง ป่าไม้ เพื่อยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของราษฎรที่ยากจนในพื้นที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบนดีขึ้น รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการสาธิตในวิชาการเกษตรแผนใหม่
      4. เป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลทางด้านวิชาการ และการพัฒนา
      5. เพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนาเป็นแบบอย่างใช้กับโครงการพัฒนา

 

 
จำนวนผู้เข้าชม
page counter
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
www.autoinfo.co.th
www.moac.go.th
money.kapook.com
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
“เว็บไซต์นี้ ดำเนินการภายใต้รายวิชา โครงการ  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  ปีการศึกษา 2561  ครูสุดฤดี  ประทุมชาติ”